การประเมินสภาวะผู้ป่วยขั้นต้น
การประเมินสภาวะผู้ป่วยขั้นต้น
การประเมินสภาวะผู้ป่วยขั้นต้น เป็นการปฏิบัติการแรกที่ผู้พบเหตุหรือผู้แจ้งเหตุต้องกระทำเมื่อประสบเหตุ หลังการประเมินสภาวะแวดล้อมรอบๆตัวให้มีความปลอดภัยทั้งกับผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ ทันทีที่ถึงตัวผู้เจ็บป่วยใช้เวลาไม่เกิน 60 วินาที โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ปากสอบถาม และการสัมผัสตัวผู้เจ็บป่วยในการประเมินไปพร้อมๆกัน ในการประเมินระบบสำคัญ 3 ระบบได้แก่ ระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบประสาท เพื่อค้นหาปัญหาเร่งด่วนที่เป็นภาวะคุกคามชีวิต โดยมีขั้นตอนสำคัญของการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินทุกราย ได้แก่
1. การประเมินสภาพทั่วไป ( General impression ) การลงความเห็นเกี่ยวกับการเจ็บป่วย โดยอาศัยการประเมินจากสภาพแวดล้อม และอาการสำคัญของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว โดยใช้ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่นและปากถามผู้ป่วยหรือบุคคลใกล้เคียง และยังไม่มีการสัมผัสตัว เพื่อให้ง่ายต่อการให้ได้ข้อมูลคร่าวๆว่า สภาพผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือไม่ ได้แก่
- ท่าทางของผู้ป่วย นั่ง นอน ศีรษะ ลำตัวอย่างไร
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัวหรือไม่
- การหายใจ Respiration โดยดูจากหน้าอกเคลื่อนไหวขึ้นลงตามจังหวะการหายใจ และลักษณะการหายใจปกติหรือผิดปกติอย่างไร หายใจตื้น และถี่ หรือ หายใจลำบาก หรือ หายใจมีเสียงดัง เช่น เสียงวี๊ด กรนหรือ เสียงครืดคราด เสียง คร็อกในลำคอ
- ภาวะช็อค เช่น เหงื่อออกท่วมตัว หน้าซีดผิวเย็นชืด หมดสติ หรือหมดสติชั่ววูบ เป็นต้น
- เสียเลือดจำนวนมากจากส่วนใด
2. การประเมินสภาวะความรู้สึกตัว และสติสัมปชัญญะ Conscious ของผู้ป่วย โดยเริ่มด้วยการเรียก หรือพูดคุยกับผู้ป่วย ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี สามารถพูดโต้ตอบได้ หรือไม่อย่างไร
- รู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง
- ซึม ตอบสนองต่อเสียงเรียกหรือคำพูด
- หมดสติ ปลุกตื่น ตอบสนองต่อความเจ็บปวด
- หมดสติปลุกไม่ตื่น ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น
3. การตรวจประเมินสภาวะร่างกาย โดยใช้หลักการประเมิน ด้วยสายตาและการสัมผัส ง่ายๆ ตรวจดูผิวหนังร้อน อุ่น เย็นหรือเปียกชื้น มีอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมีการผิดรูปจากเดิมหรือไม่ เช่น
อวัยวะนั้นมีรอยฟกช้ำ แผลถลอก หรือมีบาดแผล แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือไม่
อวัยวะส่วนนั้นมีบาดแผลถูกแทงด้วยวัตถุมีคมหรื
อวัยวะส่วนนั้นกดแล้วเจ็บหรือผิดรูปหรือไม่
การช่วยเหลือขั้นต้นแก่ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินที่หมดสติด้วยการเปิดทางการหายใจ
หลังการประเมินสภาวะเบื้องต้นพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะหมดสติและมีปัญหาการหายใจก่อนการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือจากรถพยาบาลควรให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ไม่ควรปล่อยให้ผู้เจ็บป่วยขาดอากาศหายใจนานเกิน 4 นาที ควรมีการบริหารการหายใจให้แก่ผู้ป่วยก่อน โดย
(1) การจัดท่านอนหงายราบไม่หนุนหมอน
(2) ใช้สันมือด้านที่อยู่ใกล้กับศีรษะผู้บาดเจ็บวางบนหน้าผากผู้บาดเจ็บพร้อมกับกดหน้าผาก
(3) ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกด้านจับที่กระดูก ขากรรไกรเชยคางขึ้น
2. ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ทราบสาเหตุของการบาดเจ็บ
ให้ตรึงกระดูกสันหลังส่วนคอและดึงกระดูกขากรรไกร ( Jaw thrust maneuver ) ถ้าทางเดินหายใจโล่งแต่ถ้าทางเดินหายใจไม่โล่ง ให้พิจารณาล้วงเศษอาหารและสิ่งแปลกปลอมและเสมหะออกก่อน และ
(1) ผู้ปฏิบัตินั่งคุกเข่าท่าคุดคู้ โดยก้มคุดคู้อยู่ ด้านบนศีรษะผู้ป่วย
(2) ให้ข้อศอกทั้งสองข้างวางบนพื้นหรือบนรถเข็นที่ผู้ป่วยนอน เพื่อให้จุดออกแรงงัดอยู่ที่แขนและมือ
(3) ผู้ปฏิบัติใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับกระดูกขากรรไกร ล่าง หัวแม่มือกดที่ด้านหน้าของกระดูกขากรรไกร บริเวณอุ้งมือประคองด้านข้างศีรษะผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเคลื่อนของศีรษะ
3. ผู้ป่วยที่หมดสติและไม่หายใจ ให้ปฏิบัติตามแนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR