EMS การแพทย์ฉุกเฉิน และระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency medical services, EMS)
การแพทย์ฉุกเฉิน คือ
การดูแลรักษาอาการผู้เจ็บป่วยนอกโรงพยาบาลและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอาการป่วยหรือบาดเจ็บที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน
เฉียบพลัน พร้อมทั้งการนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม โดยมีจุดประสงค์หลัก คือช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน, ป้องกันไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลง และบรรเทาอาการที่ทำให้เกิดความเสี่ยงหรือทุกข์ทรมานลง
ซึ่งผู้ช่วยเหลือจำเป็นต้องมีความรู้
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และมาตรฐาน
หลักเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ตามที่พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้มีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย และผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถขอใช้บริการความช่วยเหลือได้ที่โทร
1669 ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นระบบงานบริการความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน มีลักษณะการทำงานที่เป็นระบบ แบบแผนการทำงานที่ชัดเจนไว้โดยใช้สัญลักษณ์คือ "ดาวแห่งชีวิต" (Star of Life) ซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์คทางูเดี่ยวแทนการรักษา โดยมี คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งถูกแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายกำหนด กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานของระบบไว้ เป็นกรอบ แบบแผนการทำงานของบุคลากร ไว้ดังนี้ ( บางส่วน )ที่ควรทราบเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการ พ.ศ. 2555 กำหนดไว้ได้แก่
(1) ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือดหรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไวให้ใช้สัญลักษณ์ “สีแดง”สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
(2) ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ได้แก่บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันมากหรือเจ็บปวดรุนแรงอันจำเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตหรือพิการในระยะต่อมาได้ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีเหลือง”สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน
(3) ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันไม่รุนแรง อาจรอรับปฏิบัติการแพทย์ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุขด้วยตนเองได้ แต่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรและหากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีเขียว”สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง
(4) ผู้ป่วยทั่วไป ได้แก่ บุคคลที่เจ็บป่วยแต่ไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอาจรอรับหรือเลือกสรรการบริการสาธารณสุขในเวลาทำการตามปกติได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นหรือมีภาวะแทรกซ้อนตามมาให้ใช้สัญลักษณ์ “สีขาว”สำหรับผู้ป่วยทั่วไป
(5) ผู้รับบริการสาธารณสุขอื่นๆ ได้แก่ บุคคลซึ่งมารับบริการสาธารณสุขหรือบริการเพื่อผู้อื่นโดยไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากร ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีดำ”สำหรับผู้ป่วยรับบริการสาธารณสุขอื่น
ข้อ 5 ให้หน่วยปฏิบัติการและสถานพยาบาลจัดให้มีการคัดแยกผู้รับบริการสาธารณสุขตามข้อ 4 ตลอดเวลา รวมทั้งควบคุมและดูแลให้ผู้ปฏิบัติการดำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามลำดับความเร่งด่วน ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามข้อ 4(1) ได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินทันที และจัดให้ได้รับปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงโดยเร่งด่วนที่สุด
(2) จัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนตามข้อ 4(2) ได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินทันที และจัดให้ได้รับปฏิบัติฉุกเฉินถัดจากผู้ป่วยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามข้อ 4(1) และจัดให้ได้รับปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูงโดยเร็ว
(3) จัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรงตามข้อ 4(3) ได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินถัดจากผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนตามข้อ 4(2) และจัดให้ได้รับปฏิบัติการแพทย์ตามความจำเป็น
(4) เลือกสรรหรือจัดให้ผู้ป่วยทั่วไปตามข้อ 4(4) ได้รับบริการสาธารณสุขอื่นตามสมควรแก่กรณี หรืออาจอนุโลมให้ใช้ทรัพยากรได้เฉพาะในกรณีจำเป็น โดยให้รับบริการถัดจากผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรงตามข้อ 4(3) หรือเมื่อไม่มีผู้ป่วยฉุกเฉิน
(5) จัดหรือแนะนำให้ผู้รับบริการสาธารณสุขอื่นตามข้อ 4(5) ได้รับบริการที่ประสงค์จากบุคลากรสาธารณสุขอื่น ในเวลาหรือบริเวณอื่น ซึ่งไม่ได้จัดไว้เพื่อปฏิบัติการแพทย์ตามความเหมาะสม
โครงสร้างและกลไกการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย
1. ความเชื่อมโยงโครงสร้าง กลไกการจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
2. โครงสร้างกลไกการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
3. กลไกการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ระดับจังหวัดและท้องถิ่น)
กลไกการจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัด
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินได้ทำข้อตกลงเพื่อดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับจังหวัด ดังนี้
1. ส่วนการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย
1.1 ผู้ว่าราชการจังหวัด
1.2 คณะอนุกรรมการบริหารจัดการระบบระดับจังหวัด
2. ส่วนการจัดบริการในระบบ
2.1 นายอำเภอ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
2.2 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
2.3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
2.4 หน่วยสนับสนุนการแพทย์ฉุกเฉิน โดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขจังหวัดตกลงร่วมกัน ในการดำเนินการดังนี้
1) จัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามขอบเขตความรับผิดชอบภายในจังหวัดหรือเขตพื้นที่ ให้เหมาะสมตามที่กพฉ.(คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน) กำหนด
2) จัดหาโรงพยาบาลเพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉิน ตรวจสอบมาตรฐาน และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร หน่วยปฏิบัติการ และพาหนะฉุกฉฺนของหน่วยปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กพฉ. รวมทั้งจัดทำทะเบียนไว้
3) ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน อนุมัติการเบิกจ่ายเพื่ออุดหนุนหรือชดเชยการปฏิบัติการฉุกเฉินตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ กพฉ. กำหนด
4) รายงานข้อมูล และติดตามการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉินตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
5) สนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนดไว้
6) จัดให้มีศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ แพทย์หรือพยาบาล ที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ
7) จัดให้มีความช่วยเหลือในระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้ตาม มาตรฐาน
7.1 มาตรฐานด้านผู้ปฏิบัติการ ตามขอบเขตความสามารถในการปฏิบัติการฉุกเฉิน และลักษณะการปฏิบัติการดังนี้
7.2 มาตรฐานด้านพาหนะใช้เพื่อการลำเลียงหรือขนส่ง
(1) พาหนะเพื่อการลำเลียงหรือขนส่งของชุดปฏิบัติการทางบก พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์และผ่านการจดทะเบียนรถ ตรวจสภาพรถ
(2) พาหนะใช้เพื่อการลำเลียงหรือขนส่งของชุดปฏิบัติการทางน้ำ
(3) พาหนะใช้เพื่อการลำเลียงหรือขนส่งของชุดปฏิบัติการด้วยอากาศยาน เป็นชุดปฏิบัติการในพื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่กำลังประสบภัยพิบัติ ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้เจ็บป่วยด้วยยานพาหนะปกติทางบกหรือทางน้ำได้
การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ครอบคลุมอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ได้แก่
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. มีสิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดินหายใจ
3. หายใจเร็วและเหนื่อยหอบอย่างรุนแรง และหายใจมีเสียงดัง
4. ชักต่อเนื่องไม่หยุด
5. อาการชักในหญิงในตั้งครรภ์
6. งูพิษกัด และมีอาการหนังตาตกหรือหายใจลำบาก
7. ถูก/โดนไฟไหม้ ได้รับสารพิษ สัตว์มีพิษกัดต่อย
8. ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา และการมองเห็นลดลงฉับพลัน
9. เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง
10. แขนขาอ่อนแรงซีกเดียวอย่างฉับพลัน
11. ปวดท้องคลอดที่มีน้ำเดินร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด
12. บาดแผลโดนยิงที่ศีรษะ หรือลำคอ หรือหน้าอก หรือท้อง
13. บาดแผลโดนแทงที่ลำคอ หรือหน้าอก หรือท้อง
14. บาดแผลที่มีเลือดไหลออกปริมาณมาก และห้ามเลือดไหลไม่หยุด
15. มีอาการเหงื่อแตก ตัวเย็น จากการเสียเลือดมาก
16. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง จมน้ำ ไฟฟ้าช็อต
การตอบสนองภาวะฉุกเฉินในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินประกอบด้วย 3 ภารกิจหลักการตอบสนองที่มีความสอดรับกันด้วยกระบวนการคุณภาพ คือ
1) ระบบการบริการนำส่งผู้ป่วยก่อนถึงรพ. (Pre hospital care)
2) ระบบการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลและเครือข่ายการส่งต่อ (In hospital care and inter hospital care)
3) ระบบการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์สาธารณภัย (Disaster management)
เครือข่ายปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินเฉพาะของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้การบริหารจัดการในการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกิดประสิทธิภาพ มีความครอบคลุม ทั่วถึงและรวดเร็ว ระบบการบริหารจัดการฯ ภายใต้การกำกับ ดูแลโดยกรุงเทพมหานครซึ่งมีศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการระบบฯ ให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดจึงแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการออกเป็น 9 โซน โดยให้หน่วยบริการในพื้นที่ร่วมกันรับผิดชอบในการจัดบริการฯให้แก่ประชาชน ดังนี้
( ข้อมูล ณ 31 สิงหาคม 2561 )หน่วยบริการระดับสูงรับผิดชอบพื้นที่ | หน่วยบริการระดับพื้นฐาน | รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ |
โซน ๑ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล | มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ( สลับวัน ) | พระนคร |
ศิริราชพยาบาล | มูลนิธิร่วมกตัญญู ( สลับวัน ) | บางซื่อ |
รพ.ราชพิพัฒน์ | ศูนย์เอราวัณ | ทุ่งสองห้อง หลักสี่ บางเขน |
รพ.บางโพ |
| ดุสิต |
รพ.เกษมราษฎร์ ประชาชื่น |
| บางพลัด |
รพ.วิชัยเวช แยกไฟฉาย |
| ตลิ่งชัน |
รพ.ธนบุรี |
| บางกอกน้อย |
ศูนย์เอราวัณ (จุดเพิ่มประสิทธิภาพ)ตลิ่งชัน |
| ทวีวัฒนา |
โซน ๒ รพ.กลาง | มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ( สลับวัน ) | ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ พญาไท |
รพ.หัวเฉียว | มูลนิธิร่วมกตัญญู ( สลับวัน ) | ดินแดง ห้วยขวาง ปทุมวัน วัฒนา คลองเตย |
ศูนย์เอราวัณ (จุดจอดศูนย์เอราวัณ) | ศูนย์เอราวัณ | สนับสนุนปฏิบัติการพื้นที่โซน 2๒ |
โซน ๓ รพ.ตากสิน | มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ( สลับวัน ) | คลองสาน |
รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า | มูลนิธิร่วมกตัญญู ( สลับวัน ) | ธนบุรี |
รพ.สมิติเวช ธนบุรี | ศูนย์เอราวัณ | ภาษีเจริญ |
รพ. บางปะกอก ๘ |
| บางแค |
รพ. หลวงพ่อทวีศักดิ์ชุตินธโรอุทิศ |
| หนองแขม |
รพ. บางไผ่ |
| บางกอกใหญ่ |
รพ. พญาไท ๓ |
| ราษฎรบูรณะ |
รพ. วิชัยเวช หนองแขม |
| ทุ่งครุ |
รพ.เกษมราษฎร์ บางแค |
| บางขุนเทียน |
รพ. สหวิทยาการมะลิ |
| บางบอน |
ศูนย์เอราวัณ (จุดเพิ่มประสิทธิภาพ) |
| สนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่ |
โซน ๔ รพ. เจริญกรุงประชารักษ์ | มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ( สลับวัน ) | บางคอแหลม |
รพ. บางปะกอก ๙ อินเตอร์ | มูลนิธิร่วมกตัญญู ( สลับวัน ) | ยานนาวา บางรัก |
รพ. พระราม ๒ | ศูนย์เอราวัณ | สาธร |
รพ. บางมด |
| คลองเตย |
รพ. บางปะกอก ๑ |
| พระโขนง |
รพ.ประชาพัฒน์ |
| บางนา |
รพ.นครธน |
|
|
|
| |
ศูนย์เอราวัณ (จุดเพิ่มประสิทธิภาพ) |
|
|
โซน ๕ รพ.เลิดสิน | มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ( สลับวัน ) | สาธร |
รพ. จุฬาลงกรณ์ | มูลนิธิร่วมกตัญญู ( สลับวัน ) | บางรัก |
รพ. กล้วยน้ำไท ๑ | ศูนย์เอราวัณ | คลองเตย พระโขนง |
รพ. ศิครินทร์ |
| ปทุมวัน วัฒนา |
รพ. เทพธารินทร์ |
|
|
|
|
|
หน่วยบริการระดับสูงรับผิดชอบพื้นที่ |
หน่วยบริการระดับพื้นฐาน |
รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ |
โซน ๖ รพ. นพรัตน์ราชธานี |
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ( สลับวัน ) |
ประเวศ สวนหลวง บางกะปิ |
รพ. สิรินธร |
มูลนิธิร่วมกตัญญู ( สลับวัน ) |
วังทองหลาง หนองจอก ลาดกระบัง |
รพ.ลาดกระบังกรุงเทพมหานคร |
ศูนย์เอราวัณ |
บึงกุ่ม มีนบุรี คลองสามวา |
รพ. เวชการุณย์รัศมิ์ |
มูลนิธิร่มไทร |
คันนายาว |
รพ. นวมินทร์ ๑ |
มูลนิธิสยามรวมใจ |
|
ศูนย์เอราวัณ (จุดเพิ่มประสิทธิภาพ)จุดรามอินทรา |
|
สนับสนุนปฏิบัติการในพื้นที่โซน |
โซน ๗ รพ. ภูมิพลอดุลยเดช |
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ( สลับวัน ) |
บางเขน |
รพ. เปาโล เกษตร |
มูลนิธิร่วมกตัญญู ( สลับวัน ) |
ดอนเมือง |
รพ. บี แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ |
ศูนย์เอราวัณ |
จตุจักร |
รพ. เซ็นทรัลเยนเนอรัล |
กู้ชีพหงส์แดง |
สะพานสูง |
รพ. วิภาวดี |
กู้ชีพกูบแดง |
หลักสี่ |
รพ. สายไหม |
|
สายไหม |
ศูนย์เอราวัณ (จุดเพิ่มประสิทธิภาพ)จุดสำนักการโยธา |
|
ลาดพร้าว |
โซน ๘ รพ.ราชวิถี |
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ( สลับวัน ) |
พญาไท ห้วยขวาง |
รพ. รามาธิบดี |
มูลนิธิร่วมกตัญญู ( สลับวัน ) |
ลาดพร้าว |
รพ. พระมงกุฎเกล้า |
ศูนย์เอราวัณ |
จตุจักร |
รพ. พญาไท ๒ |
|
ดินแดง |
รพ. ปิยะเวท |
|
ห้วยขวาง |
รพ. เพชรเวช |
|
ปทุมวัน |
ศูนย์เอราวัณ (จุดเพิ่มประสิทธิภาพ)จุดสนข.ลาดพร้าว |
|
|
โซน ๙ รพ. ตำรวจ |
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ( สลับวัน ) |
ปทุมวัน |
รพ. การุญเวช สุขาภิบาล ๓ |
มูลนิธิร่วมกตัญญู ( สลับวัน ) |
วัฒนา |
รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย |
ศูนย์เอราวัณ |
ประเวศ |
ศูนย์เอราวัณ (จุดเพิ่มประสิทธิภาพ)จุดวัดเทพลีลา |
|
|
|
|
|